วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หมูป่า

หมูป่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมูป่า
หมูป่า
หมูป่า
ลูกที่มีลวดลายคล้ายแตงไทย
ลูกที่มีลวดลายคล้ายแตงไทย
หมูป่า (อังกฤษ: Wild boar) เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sus scrofa เป็นต้นสายพันธุ์ของหมูบ้านในปัจจุบัน มีรูปร่างหน้าตาคล้ายหมูบ้าน แต่มีขนตามลำตัวยาวกว่า ลำตัวมีสีเทาดำ บางตัวอาจมีสีน้ำตาลเข้ม ขนบริเวณหัวชี้ยาวออกไปทางด้านหลัง ตัวเมียมีเต้านม 5 คู่ ลูกที่เกิดใหม่มีสีน้ำตาลเข้มค่อนไปทางดำและมีแถบสีดำพาดผ่านตามยาวลำตัว ดูคล้ายลายของแตงไทย
มีขนาดความยาวลำตัวและหัว 135-150 เซนติเมตร ความยาวหาง 20-30 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 75-200 กิโลกรัม โดยตัวผู้จะมีน้ำหนักหนักกว่าตัวเมีย
หมูป่าจัดเป็นสัตว์ที่การกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางมาก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป ทวีปเอเชียและแอฟริกา และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็สามารถพบเห็นได้ทั่วไป จึงทำให้มีทั้งหมด 10 ชนิดย่อยด้วยกัน
มีนิเวศน์วิทยาและพฤติกรรมสามารถอาศัยอยู่ได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม แต่มักเลือกที่จะอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพราะชอบนอนแช่ปลักโคลนในวันที่มีอากาศร้อน สามารถกินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก เช่น สัตว์เลื้อยคลานหรือแม้แต่ซากสัตว์ด้วย หมูป่าที่อาศัยในป่าที่อยู่ใกล้แหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ อาจจะขโมยกินหัวหรือรากพืชที่ปลูก รวมทั้งถึงนาข้าวด้วย การหาอาหารจะใช้จมูกดุนดินเพื่อขุดหาอาหารใต้ดิน ขณะออกหาอาหารจะส่งเสียงร้องดังอยู่ตลอดเวลา มักหากินในช่วงเวลาเช้าตรู่และยามบ่าย บางครั้งอาจหากินได้ในเวลากลางคืนด้วย มักรวมกันเป็นฝูงใหญ่ ราว 20-100 ตัว โดยจะมีอายุของสมาชิกในฝูงคละเคล้ากันไป เมื่อถึงสภาวะคับขันจะหลบหนีไปตามพุ่มไม้เตี้ย ๆ ตามปกติแล้วหมูป่าเป็นสัตว์ที่ขี้หงุดหงิดและมีอารมณ์ร้าย ศัตรูของหมูป่าได้แก่ เสือโคร่งและเสือดาว เมื่อพบศัตรูตัวผู้จะออกมาทำหน้าที่ต่อสู้เพื่อปกป้องสมาชิกในฝูง ด้วยการพุ่งชนด้วยเขี้ยวที่ยาวโง้งออกมา ซึ่งในตัวเมียไม่มี
ปัจจุบัน เป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการเพาะเลี้ยงเพื่อรับประทานเนื้อเป็นอาหาร หรืออาจจะเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงตามบ้านของบางคนก็ได้ โดยมีการทำฟาร์มหมูป่า แต่สถานะในธรรมชาติโดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต (CR)

[แก้] อ้างอิง



Commons

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แมวเหมี๊ยวเหมียว

แมวไทย คือแมวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย คุณสมบัติที่ทำให้แมวไทยเหนือกว่าแมวชนิดอื่น คือ อุปนิสัย แมวไทยมีความฉลาด มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักคิด รู้จักประจบ รักบ้าน รักเจ้าของ และเหนืออื่นใด คือ รักความอิสระของตัวเองเป็นชีวิตจิตใจ อิสระที่ จะกิน จะดื่ม หรือจะไปไหนตามที่ใจชอบ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัวที่ทำให้แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่น สีสันตามตัวของแมวไทย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักรักแมวรู้สึกสุขใจยามได้มอง ไม่ว่าจะเป็น วิเชียรมาศ เก้าแต้ม ขาวมณีหรือขาวปลอด นิลรัตน์หรือดำปลอด ศุภลักษณ์หรือ ทองแดง สีสวาดหรือแมวไทยพันธุ์โคราช ต่างล้วนได้รับความสนใจ จากเจ้าของและผู้สนใจทั้งสิ้น
เมื่อปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานแมววิเชียรมาศคู่หนึ่งให้แก่ กงสุลอังกฤษชื่อนาย โอเวน กูลด์ (Owen Gould) แมวไทยคู่นี้ชนะการประกวดแมวที่ กรุงลอนดอน และทำให้ชาวอังกฤษนิยมเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น ในที่สุดก็แพร่หลายไปทั่วโลก และแมววิเชียรมาศก็เป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า "Siamese Cat" หรือแมวสยาม นับแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นต้นมา จวบจนถึง สมัยรัชกาลที่ 5 ลาวได้อพยบสู่สยามโดยการกวดต้อนครัวเรือนชาวลาวไปสยามจำนวนมาก พวกสัตว์ประเภทต่างๆก็คงได้อพยบไปด้วย แมวไทยอาจมีสายเลือดแมวลาวปนอยู่ด้วยอย่างมาก
สำหรับในประเทศไทย คนไทยที่เป็นที่รับรู้ดีว่าชอบเลี้ยงแมวไทย อาทิ เช่น นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นายพิชัย วาสนาส่ง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการต่างประเทศ และ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อดีตผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) เป็นต้น
แมวไทย (วิฬาร) ที่ยังเหลือให้พบเห็นในปัจจุบันนี้มี 6 ชนิดคือ วิเชียรมาศ สีสวาด ศุภลักษณ์ โกญจา ขาวมณี และแซมเสวตร[1] แต่แท้จริงแล้วในสมุดข่อยโบราณได้กล่าวถึงแมวไทยว่ามีทั้งหมด 23 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็นแมวให้คุณ 17 ชนิด และ แมวร้ายให้โทษอีก 6 ชนิด
[แก้] แมวให้คุณ 17 ชนิด

แมวไทยบนแสตมป์ของ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (ซ้ายบน) ขาวมณี, (ซ้ายล่าง) วิเชียรมาศ, (ขวาบน) มาเลศ, (ขวาล่าง) ศุภลักษณ์
1.               วิเชียรมาศ เมื่อแรกเกิดมีขนสีขาวหมด พอโตขึ้นจะมีสีเปลี่ยนเป็นสีครีมอ่อน ๆ แต่ที่หน้า หาง เท้าทั้งสี่หูทั้งสองข้าง และที่อวัยวะเพศอีก 1 แห่งรวมเก้าแห่งมีสีน้ำตาล (สีเข้ม) มีนัยน์ตาประกายสีฟ้าสดใส เลี้ยงไว้มีคุณค่ายิ่งลำนักหนา จักนำโภคาพิพัฒน์สมบัติเพิ่มพูล
2.               ศุภลักษณ์ หรือ ทองแดง สีขนเป็นสีทองแดงตลอดตัว มีนัยน์ตาเป็นประกาย ใครเลี่ยงจักได้ยศถา ยิ่งพ้นพรรณนาเป็นอำมาตย์มนตรี
3.               มาเลศ หรือ แมวโคราช หรือ สีสวาด มีขนสีดอกเลาเปรียบเสมือนกับเมฆสีเทายามฟ้ายับฝน มีนัยน์ตาหยาดเยิ้มประหนึ่งนำค้างย้ยต้องกลีบบัว ใครพบเร่งให้อุปถัมภ์ แมวนั้นจักนำมาซึ่งสุขสวัสดิ์มงคล
4.               โกนจา หรือ ดำปลอด มีสีดำละเอียด นัยน์ตาสีดอกบวบแรกแย้ม หางเรียวยาว ท่าทางการเดินสง่าเหมือนสิงโต แมวนี้เลี้ยงดีมีคุณหนักหนา จงเร่งหามาเลี้ยงเทอญอย่าแคลงสงสัย
5.               นิลรัตน์ สีดำทั้งตัว รวมถึงเล็บ ลิ้น ฟัน ดวงตา และกระดูก หางยาวตวัดได้จนถึงหัว เลี้ยงไว้แล้วเชื่อว่าจะมีความเจริญ มีทรัพย์ ปราศจากอันตราย
6.               วิลาศ มีลำตัวสีดำจากคอไปตลอดท้อง จากสองหูไปจนถึงหางและขาทั้งสี่มีสีขาว ตาสีเขียว เชื่อว่าเลี้ยงไว้แล้วจะได้เป็นเจ้าคนนายคน มีเงินทองมากมาย
7.               เก้าแต้ม มีสีขาวเป็นพื้น มีแต้มสีดำเก้าจุดที่คอ หัว ต้นขาหน้าและหลังทั้งสองข้างและที่ท้ายลำตัว เชื่อว่าเลี้ยงไว้แล้วจะรุ่งเรืองทางการค้าขาย
8.               รัตนกำพล ตัวขาวเหมือนหอยสังข์ แต่รอบตัวตรงส่วนอกมีลักษณะคล้ายสายคาดสีดำ ตาสีเหลือง เชื่อว่าเลี้ยงแล้วจะมียศ ผู้อื่นยำเกรง
9.               นิลจักร มีลำตัวดำสนิท ที่คอมีขนสีขาวอยู่รอบเหมือนกับปลอกคอ เชื่อว่าเลี้ยงแล้วจะมีทรัพย์มาก
10.         มุลิลา ลำตัวดำ หูสองข้างมีสีขาว ตามีสีเหลืองเหมือนดอกเบญจมาศ เชื่อว่าแมวชนิดนี้เหมาะกับนักบวชเลี้ยงเพราะช่วยให้มีการเล่าเรียนดีสมปรารถนา
11.         กรอบแว่น หรือ อานม้า มีปานลักษณะอานม้าบนหลัง เชื่อว่าแมวชนิดนี้มีราคาสูงถึงแสนตำลึงทองคำ และให้เกียรติยศแก่เจ้าของ
12.         ปัดเสวตร หรือ ปัดตลอด ตัวมีสีดำเป็นพื้น ตั้งแต่จมูกไปตามแนวสันหลังถึงปลายหางมีสีขาว ตาเหลืองคล้ายกับพลอย หากเลี้ยงไว้จะมีความเจริญมากกว่าคนในสกุลเดียวกันและได้ลาภยศ
13.         กระจอก ไม่กระจอกเหมือนชื่อ ลำตัวกลมมีสีดำ รอบปากมีสีขาว ตาสีเหลือง เลี้ยงแล้วเชื่อกันว่าจะได้ที่ดินเงินทอง ไพร่ก็จะได้เป็นเจ้านายคน